ที่มา วัตถุประสงค์ และขอบเขตของการพัฒนาระบบนำร่อง

โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการวัดมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Contribution to GDP) โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการพัฒนาระบบการวัดและประมวลผลมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลโดยใช้แนวคิดของเครื่องชี้เร็ว (Rapid Tracker : RT) ในการชี้ถึงแนวโน้มของมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หรือลดลง โดยเครื่องชี้เร็วจะเพิ่มประสิทธิภาพการวัดในเชิงเวลา โดยจากเดิมที่การวัดมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัล จะวัดคาบเวลารายปี (Annually) และอาจจะใช้เวลา 1 - 2 ปีในการรวบรวมข้อมูล แต่เครื่องชี้เร็วจะวัดคาดเวลาในระดับรายเดือน (Monthly) และใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน ในการคำนวณแนวโน้มของมูลค่าเศรษฐกิจในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้สามารถติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น ในโครงการนี้ ยังจะทำการทำนาย (Predict) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเครื่องชี้เร็วไปข้างหน้า และยังทำนายกลับไปยังมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลในปีถัดไปอีกด้วย

จากที่มาดังกล่าว โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบเพื่อใช้ทำนายเครื่องชี้เร็ว และมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัล และทำการจัดเก็บข้อมูลเครื่องชี้เร็ว เพื่อป้อนให้กับตัวแบบดังกล่าวอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การทำนายทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถนำเสนอข้อมูลเครื่องชี้เร็ว และมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

รูปด้านบนแสดงภาพรวมแนวคิดของโครงการ โดยในขั้นตอนที่ ที่ปรึกษาทางเศรษฐศาสตร์จะทำการรวบรวมเครื่องชี้เร็ว (Rapid Tracker) ที่มีศักยภาพ และมีคุณสมบัติที่เหมาะสม กล่าวคือ มีข้อมูลย้อนหลัง 3 – 4 ปี มีความถี่ของข้อมูลในระดับรายเดือน และสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งเมื่อได้รายการของเครื่องชี้เร็วแล้ว ก็จะทำการยืนยันเทียบกับข้อมูลมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลรายกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อหาเครื่องชี้เร็วที่เหมาะสมกับมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น ซึ่งการยืนยันจะอาศัยความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และการตรวจสอบเชิงสถิติเพื่อหาเครื่องชี้เร็วที่สอดคล้องกับมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น

ในขั้นตอนที่ เมื่อได้รายการเครื่องชี้เร็วที่มีความเหมาะสมแล้ว ก็ต้องทำการจัดเก็บข้อมูลเครื่องชี้เร็วอย่างสม่ำเสมอตามรอบของการทำงาน และต้องจัดเก็บให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้งานต่อได้

ในขั้นตอนที่ ที่ปรึกษาทางเศรษฐศาสตร์จะทำการพัฒนาตัวแบบทางสถิติเพื่อทำนายมูลค่าเครื่องชี้เร็วรายเดือนในอนาคตโดยใช้ข้อมูลเครื่องชี้เร็วรายเดือนในอดีต ซึ่งมูลค่าเครื่องชี้เร็วรายเดือนในอนาคตจะแสดงถึงแนวโน้มของมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกชี้โดยเครื่องชี้เร็ว

ในขั้นตอนที่ และ ที่ปรึกษาทางเศรษฐศาสตร์จะทำการพัฒนาตัวแบบทางสถิติเพื่อทำนายมูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลรายปี โดยใช้ข้อมูลมูลค่าเครื่องชี้เร็ว

 

เมื่อได้พัฒนาตัวแบบทางสถิติต่างๆ  แล้ว เพื่อให้ข้อมูลที่เก็บในโครงการ และ ตัวแบบที่พัฒนาขึ้น เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนในวงกว้าง และ ลดภาระงานของผู้ปฏิบัติงาน ในโครงการนี้ จึงได้พัฒนาระบบสารสนเทศนำร่อง (Prototype Information System) ที่จะทำการรวมรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ และ ทำการประมวลผล รวมถึงแสดงผลในรูปแบบ Dashboard เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และ ชัดเจน

ภาพรวมสถาปัตยกรรมซอฟท์แวร์

ระบบสารสนเทศนำร่องในโครงการนี้ จะใช้สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ETL (Extract-Transform-Load) ในการนำเข้าข้อมูล (Data Input) ไปทำการประมวลผล (Data Processing) และนำออกข้อมูล (Data Output) ตามลำดับ โดยมีภาพดังแสดงในรูปถัดไป

จากรูปจะแสดงให้เห็นสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ของระบบ โดยข้อมูลขาเข้า (Input Data) ในรูปแบบต่าง ๆ จะถูกนำเข้าสู่ระบบผ่านทางกระบวนการ Extract ของ ETL โดยอัตโนมัติ เมื่อทำการนำข้อมูลเข้าแล้ว ข้อมูลจะถูกประมวลผล โดยกระบวนการ Transform ก่อนจะถูกส่งออกผ่านทางกระบวนการ Load ไปเก็บไว้ยัง Data Warehouse เพื่อนำไปแสดงผลในรูปแบบ Dashboard ต่อไป

สำหรับในแต่ละกระบวนการย่อยของระบบ ETL จะมีรายละเอียดดังนี้

 

การนำข้อมูลผ่านกระบวนการ Extract

กระบวนการนี้เป็นการนำเข้าข้อมูลโดยการสกัด (Extract) ข้อมูลจากแหล่งต้นทางในรูปแบบที่แหล่งต้นทางเก็บข้อมูลนั้นอยู่ โดยอาจจะจำแนกแหล่งต้นทางได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ข้อมูลที่จัดเก็บแบบออฟไลน์ เช่น อยู่ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลที่ต้องจัดส่งทางอีเมล หรือด้วยวิธีการอื่นที่ไม่สามารถเข้าถึงออนไลน์ได้ ซึ่งจะต้องนำเข้าสู่ระบบโดยการอัพโหลดผ่านทางแบบฟอร์มออนไลน์

2. ข้อมูลที่จัดเก็บแบบออนไลน์ โดยสามารถเข้าถึงผ่านระบบ API (Application Program Interface) เว็บไซต์ (Web) หรือพื้นที่จัดเก็บออนไลน์ (Online Storage)

ซึ่งในกระบวนการ Extract จะต้องมีการดำเนินการที่เหมาะสมกับแหล่งต้นทาง และรูปแบบการจัดเก็บเพื่อให้ได้ข้อมูลที่พร้อมสำหรับการประมวลผลต่อไป โดยจะมีรายละเอียดของการออกแบบการทำงานดังนี้

 

กระบวนการแปลงข้อมูล (Transform)

กระบวนการนี้เป็นการแปลงข้อมูลที่ได้จากกระบวนการ Extract ให้อยู่ในรูปที่พร้อมใช้งาน รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล การทำงานในขั้นตอนนี้ ได้แก่ การแปลงรูปแบบวันที่ให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันเพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ การแปลงหน่วย หรือการแปลงค่าเงิน เป็นต้น

การแปลงข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการประมวลผล เนื่องจากข้อมูลจากแหล่งต้นทางอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ หรือโครงสร้างข้อมูล ดังนั้น เมื่อข้อมูลจากแหล่งต้นทางมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลเปลี่ยนแปลงตาม อันจะทำให้ต้องแก้ไขวิธีการประมวลผลใหม่ทั้งหมด
จึงควรใช้กระบวนการแปลงข้อมูล เพื่อจัดการการเปลี่ยนแปลงจากแหล่งต้นทางให้อยู่ในรูปแบบเดิมเพื่อให้สามารถประมวลผลข้อมูลในรูปแบบเดิมได้

 

กระบวนการแปลงข้อมูล (Load) และการแสดงผล Dashboard

เนื่องจากในการประมวลผลในโครงการนี้ อาจจะจำเป็นต้องเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เฉพาะ เช่น เก็บข้อมูลในรูปชุดข้อมูลเชิงเวลา (Time Series Data) จึงต้องมีการนำส่งข้อมูลจากกระบวนการแปลงข้อมูลไปยังที่เก็บข้อมูลปลายทาง ซึ่งอาจจะเป็นฐานข้อมูลหรือชุดแฟ้มข้อมูลได้ เช่นเดียวกับการแปลงข้อมูลขั้นตอนนี้
มีเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการข้อมูล เช่น ในกระบวนการถัดไป ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเก็บข้อมูล ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไขกระบวนการแปลงข้อมูลทั้งหมด เปลี่ยนแปลงแต่กระบวนการนำส่งข้อมูลก็เพียงพอในการออกแบบการสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ จึงต้องพิจารณาถึงทั้งรูปแบบข้อมูลจากแหล่งข้อมูล และข้อมูลปลายทางที่เหมาะสมกับการประมวลผลต่อไป

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.